วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3

                                                                                             
นักวิชาการที่ชื่นชอบ       
             


 ชีวประวัติส่วนตัว
          นายทวี บุณยเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2447 เวลา 13.20 น. ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นบุตรของพระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุณยเกตุ) กับคุณหญิงรณชัยชาญยุทธ์ (ทับทิม) โดยชื่อ ทวี มาจากการที่บิดาและมารดาสมรสกันในวันทวีธาภิเษก บุคคลที่เข้าร่วมงานเมื่อเลิกจึงมาในงานสมรสโดยไม่ได้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า ติดเหรียญตราทวีธาภิเษกเข้าร่วมงานเลยนายทวีสมรสกับคุณหญิงอำภาศรี บุณยเกตุ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2514 รวมอายุได้ 67 ปี
ผลงานทางการเมือง
              นายทวี บุณยเกตุ มีส่วนร่วมในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยได้รับมอบหมายให้คุมกำลังเข้าควบคุมค่ายทหาร ที่บางซื่อ ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในผู้แทนราษฎรชุดแรก จำนวน 70 คน เมื่อสิ้นสุดอายุของสภาชุดนี้ ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาประเภทสอง (วุฒิสมาชิก)

ในรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายทวีได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณาร่างเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ เป็นผู้หนึ่งที่มีแนวความคิดสอดคล้องกับนายปรีดี พนมยงค์ นอกจากนี้ยังสนิทสนมและได้รับความไว้วางใจจากนายควง อภัยวงศ์ เป็นอย่างมาก
ในช่วงรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายทวี และนายควง ได้รับเลือกเป็นประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2486 แต่เนื่องจากความขัดแย้งส่วนตัวกับจอมพล ป. ซึ่งไม่ยอมลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ นายทวีและนายควง จึงลาออกจากตำแหน่งทั้งคู่
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นายควง อภัยวงศ์ รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากจอมพล ป. นายทวี บุณยเกตุได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงเวลานั้น นายทวียังได้รับมอบอำนาจเป็นผู้สั่งการแทนนายกรัฐมนตรีในหลายโอกาส ทั้งยังเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในการประกาศพระบรมราชโองการว่าสงครามกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาเป็นโมฆะ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488หลังจากนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และอยู่ระหว่างรอ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้แต่งตั้งนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 และลาออกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 ระยะเวลาในการบริหารประเทศของท่านจึงสั้นเพียง 18 วัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด
เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
   ผลงานทางการเมืองเพราะผลงานของนายทวีโดนเด่นเรื่องการเมืองมีส่วนร่วมในการปฏิวัติสยาม
    ผลงานเขียน
พ่อสอนลูก
การสังคม (พ.ศ. 2543)
การครองเรือน (พ.ศ. 2543)

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่2

หลัก ทฤษฎีและปฏิบัติ - Presentation Transcript

       หลักการและการจัดการบริหาร   ทฤษฎีของ วรโชติ
ความรู้พื้นฐานทางการบริหาร หลัก ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา
การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน 4.คำจำกัดความ การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช ่ เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว
      
        ประโยชน์ของทฤษฎี
ทำให้เกิดความรู้ ความคิดใหม่ๆเกิดความก้าวหน้าทางวิทยาการ คือถ้ามีทฤษฎีก็มีการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อทดสอบ
สามารถใช้ประกอบการทำนายเหตุการณ์ พฤติกรรม และใช้แก้ไขปัญหาได้
ทฤษฎีจะช่วยขยายประสิทธิภาพของการทำงาน ผู้บริหารที่รู้ทฤษฎีจะมีทางเลือก และเลือกทางที่เหมาะสมได้
ทฤษฎีเป็นหลักยึดในการปฏิบัติ ผู้ที่ทำงานแนวคิดหรือทฤษฎีก็จะเกิดความมั่นใจในการทำงาน

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่1


นางสาว สีวิไล   โชติผล   รหัส 5111116051   คณะครุศาสตร์   โปรแกรม  สังคมศึกษา  กลู่มเรียน 01

จบจากโรงเรียน  ทุ่งสง     บ้านอยู่เลขที่75   หมู่ 6  ตำบล บางขัน      อำเภอ บางขัน    จังหวัด 

นครศรีธรรมราช      คติ  อนาคตต้องสำเร็จและสดใส

80360    เรียกเล่นๆ    อ้อย

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การจัดการชั้นเรียน

การจัดการชั้นเรียน  หมายถึง  การเตียมความพร้อมในชั้นเรียนเพื่อที่จะสอนหรือทำบรรยากาศในชั้นเรียนให้ดีขึ้นและวิธีการสอนให้เข้ากับนักเรียน