วัฒนธรรมองค์การ หมายถึงธรรมเนียมปฏิบัติของหน่วยงาน บางคนหมายถึงแบบแผนการประพฤติปฏิบัติหน้าที่หน่ายงานคาดหวังให้สมาชิกทำตาม
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
วัฒนธรรมองค์การทั้งหลายนั้นมีที่มาจากความคิดพื้นฐาน 2 แนวทางหลัก คือ แนวทางที่เห็นว่าวัฒนธรรมเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ (culture as a variable) และแนวทางที่เห็นว่าองค์การเปรียบเสมือนวัฒนธรรมๆ หนึ่ง (culture as a root metaphor) แนวทางแรก ที่เห็นวัฒนธรรมองค์การเป็น พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ และเป็นตัวแปรตัวหนึ่งในบรรดาตัวแปรหลายตัวที่องค์การมีอยู่ (ตัวแปรอื่นๆ เช่น โครงสร้างองค์การเทคโนโลยี ฯลฯ) แนวทางแรกจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “culture is something an organization has” ส่วนแนวทางหลัง เชื่อว่าวัฒนธรรมองค์การเป็นความคิด ความเชื่อ ที่อยู่ภายในจิตใจ ของคนกลุ่มหนึ่งและไม่ใช่เป็นเพียงตัวแปรตัวหนึ่งในองค์การ แต่ตัวองค์การเองทั้งหมดคือวัฒนธรรมๆ
แนวทางพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การมิได้หมายถึงการพัฒนาแต่เฉพาะองค์การที่มีปัญหาเท่านั้น หากแต่องค์การที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่แล้วก็ควรได้รับพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนมีความเจริญและมีการพัฒนาที่ดีแล้วจึงหยุดนิ่ง ก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลังตลอดเวลา ผู้บริหารจึงควรมีการพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยอาศัยหลักการดังนี้
1.กำหนดเป้าหมาย (Goal Sating) ควรมีการประชุม อภิปราย เพื่อกำหนดนโยบายร่วมกันทั้งฝ่ายผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างชัดเจน และตรงไปตรงมา
2.ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relations) ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมกัน เพราะความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน
3.การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations) การมีสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การถือเป็นผลพลอยได้ขององค์การ แต่ไม่ว่าคนในองค์การจะมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันหรือไม่ก็ตาม ควรได้รับการเปิดเผย เพื่อให้ต่างฝ่ายได้รู้ถึงปัญหา เมื่อรู้ถึงปัญหาทุกคนจะพยายามปรับตัวเข้าหากันและตั้งใจทำงานมากขึ้น
4.ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหา ระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force) ภายในระบบของหน่วยงานนั้นๆ
5.การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการโน้มน้าวคนในหน่วยงานให้มีความเข้าใจที่ดีต่อกันมากที่สุด
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ
1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง
2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก
กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้วัฒนธรรม องค์การในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในกรณีศึกษาของประเทศไทย เช่น สาขาของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยผู้จัดการพยายามพัฒนาพนักงานให้มีความ สนใจลูกค้ามากขึ้น เพราะพบว่าพนักงานมักจะให้บริการแก่ลูกค้า "แบบขอไปที" หรือ "เสียไม่ได้" กล่าวคือ ไม่เคยมีรอยยิ้ม การทำงานก็จะทำไปตามหน้าที่ การให้บริการล่าช้า เป็นการทำงานตามใจตัวเอง ส่งผลให้ลูกค้าตำหนิการให้บริการอย่างมาก ผู้จัดการสาขาท่านนั้นได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม ใน หัวข้อ วัฒนธรรมองค์การ และได้ฟังการบรรยายตัวอย่างของ UPS จากตัวอย่างสามารถสรุปได้ว่า วัฒนธรรมองค์การใดจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกระทำตัวเป็นตัวอย่างก่อน ในขณะเดียวกันต้องมีความตั้งใจจริง และมีความผูกพันอย่างจริงจังในการสร้างให้เกิดบรรยากาศของการควบคุมโดยใช้ วัฒนธรรมองค์การ ที่สำคัญควรมีการปรับวัฒนธรรมองค์การตลอดเวลา เพราะการปลูกฝังค่านิยมให้ฝังแน่นอย่างถาวรอาจทำให้วัฒนธรรมนั้นขาดการพัฒนา ปรับปรุงให้เหมาะสมลงตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมองค์การของบริษัท Polaroid ที่ยึดติดอยู่กับกรอบความคิดที่ว่าภาพถ่ายที่ดีต้องใช้ฟิล์มเท่านั้น Polaroid เป็นบริษัทแรกที่เป็นเจ้าของแนวคิดถ่ายรูปแล้วสามารถเห็นภาพทันที ซึ่งก็คือ Digital Picture ในปัจจุบัน แต่ด้วยค่านิยมที่ฝังแน่นเกินไปทำให้ Polaroid ที่ควรจะเป็น ผู้นำในเรื่อง Digital Picture กลับกลายเป็นบริษัทที่เกือบล้มละลาย ปล่อยให้บริษัท Sony และ บริษัท Canon กลายเป็นผู้นำแทนในเรื่องการถ่ายภาพที่สามารถเห็นภาพทันที
สรุป วัฒนธรรมในองค์กรนั้นไม่ได้มีแต่ด้านดีอย่างเดียว เราคงต้องยอมรับว่ายังมีวัฒนธรรมองค์กรในด้านไม่ดีที่ฝังรากปะปนอยู่ด้วย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้นำในทุกระดับขององค์กรที่จะต้องค้นหา ส่งเสริม รณรงค์ และกระตุ้นให้พนักงานทุกคนในองค์กรมีจิตสำนึกในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีให้เกิดขึ้นในองค์กรนั้น ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น