วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า 
       
ในวันนี้ กล่าวถึงความสาคัญของ 
"The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สาคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทาให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสาคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่อง “ความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน” เพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสาคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทาลายสิ่งของ 

 คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ 
         1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด 


       ตอบ ไม่ เพราะคนไทยในปัจจุบันไม่ค่อยออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย คนไทยในสมัยนี้ชอบรับประทานอาหารที่สำเร็จรูปซึ่งอาหารสำเร๊จรูปนั้นมีสารอาหารน้อย

         2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก         กำลังกายไหม)
       ตอบ น้อยมากค่ะ เพราะคนไทยส่านใหญ่ไม่ค่อยออกกำลังกายและไม่ค่อยมีเวลาว่างมากนัก

         3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
        ตอบ ไม่ค่อยมีความสามารถในด้านนี้ เพราะ ดูได้จากการแข่งขันอะไรก็ตามที่มีผู้ชนะและมีผู้แพ้ฝ่ายที่ชนะก็จะแสดงความดีใจจนออกหน้าออกตาโดยไม่คิดถึงจิตใจของผู้แพ้ที่มีแต่น้ำตา เด็กไทยนั้นไม่ค่อยมีการควบคุมอารมณ์ถ้ามีอะไรที่มาทำให้ไม่สบายใจก็จะแสดงอารมณ์นั้นออกมาทันที

         4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
        ตอบ ไม่ เพราะโรงเรียนที่ได้รับความค่านิยมหรือมีชื่อเสียงมากนั้นส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญในด้านวิชาการมากกว่าที่จะให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิต เพราะโรงเรียนเหล่านี้จะมุ่งพัฒนาในด้านวิชาการเพื่อให้เด็กจบออกมานั้นมีคุณภาพในด้านวิชาการเพียงอยางเดียว

        5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทาความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจาแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด) 
        ตอบ ครูประจำชั้นจะให้ความสำคัญในเรื่องการทำความรู้จักกันน้องกว่าภาคเรียนที่ 1 และจะไม่ค่อยจำแนกนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆแต่จะให้ความสำคัญและจะสนใจเป็นพิเศษกับเด็กที่มีผลการเรียนต่ำ แทนที่จะแย่กเด็กเป็นกลุ่มๆเพื่อไม่ให้เด็กนั้นมีปมด้อยและไม่ให้เด็กเกิดความน้อยใจว่าตัวเองนั้นอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการเรียนต่ำ
      
        6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
         ตอบ ในการดูแลและช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงนั้นใช้วิธีการดูแลแบบใกล้ชิดหมันถามเด็กอยู่เสมอว่ามีปัญหาอะรัยบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนหรือเรื่องทางบ้าน ถ้าเด็กมีปัญหาครูประจำชั้นหรือทางโรงเรียนก็จะช่วยเหลือเด็กให้ทัน

        7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
         ตอบ มี เพื่อให้เด็กรู้จักการควบคุมอารมณืและให้เด็กสามารถพัฒนาบุคลิคภาพและรู้จักการจัดการปัญหาด้วยตัวเอง
       
        8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
         ตอบ การประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต จะต้องมีอย่างจริงจังเพื่อให้ได้รู้ถึงสุขภาพกานและจิตของเด็กว่าเป็นอย่างไร

        9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
         ตอบ มีค่ะและมีความจำเป็นมากที่จะมีแบบประเมินสุขภาพเด็ก
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น